ประวัติวัดช้างใหญ่
จากประวัติการสร้างวัด
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2250 ตรงกับช่วงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
โดยชาวมอญร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้นมา
คาดว่าชาวมอญที่ร่วมกันสร้างวัดช้างใหญ่แห่งนี้คือชาวมอญที่ทำหน้าที่ดูแลช้างสำคัญ
และช้างที่ชาวมอญดูแลนั้นมีช้างศึกของสมเด็จพระนเรศวรรวมอยู่ด้วย
หลังจากที่ได้ชนะในสงครามยุทธหัตถีจึงสร้างวัดนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์
สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่
พระอุโบสถ
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร มีเสาและเครื่องบนเป็นไม้
มุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีพาไลยื่นออกมาด้านหน้าตามแบบสถาปัตยกรรมอยุธยาตอนปลาย -
รัตนโกสินทร์ตอนต้น ผนังด้านนอกด้านหน้าอุโบสถมีร่องรอยของภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ผนังด้านหน้าและผนังภายในพระอุโบสถของวัดช้างใหญ่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังรอบด้าน
เขียนด้วยสีฝุ่นรองพื้นด้วยดินสอพอง ด้านหลังองค์พระประธานเป็นภาพพระพุทธประวัติตอนมารวิชัย
ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพไตรภูมิ ส่วนผนังด้านข้างด้านบนเป็นภาพเทพชุมนุม
ส่วนด้านล่างระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพทศชาติชาดก
ภาพจิตรกรรมเหล่านี้สันนิษฐานว่าเขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ระหว่างพ.ศ. 2275-2301
ต่อมาภาพบางตอนได้ถูกซ่อมแซมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณปี พ.ศ. 2356