ไส้ผ้าห่ม ดูแลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง




ทุกวันนี้สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวของเรามีมลพิษที่เป็นอันตรายมากขึ้น ซึ่งเรามีโอกาสสัมผัสกับมลพิษต่างๆ ได้ง่าย ไม่ใช่แค่การสัมผัสกับมลพิษโดยตรงแต่รวมถึงการสะสมในของใช้ในบ้านด้วย เช่น ผ้าห่ม ซึ่งผ้าห่มหรือผ้านวมนั้นเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคหลายชนิดได้ แม้คนที่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วก็อาจเป็นได้ไม่ยาก ฉะนั้นเราต้องหมั่นทำความสะอาดผ้าห่มอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่ด้านนอกแต่รวมถึงไส้ผ้าห่มด้วย เพื่อกำจัดไรฝุ่นและมลพิษต่างๆ แต่หลายคนอาจยังไม่รู้วิธีทำความสะอาดไส้ผ้าห่มที่ถูกต้อง วันนี้เราจึงมีวิธีดูแลและทำความสะอาดไส้ผ้าห่มมาฝาก ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

การดูแลรักษาใส้ผ้าห่ม

1. การเลือกซื้อ

นี่คือขั้นตอนแรกสุดที่ต้องพิจารณาให้ดี ต้องดูว่าไส้ผ้าห่มนั้นทำจากใยสังเคราะห์หรือเปล่า ซึ่งใยสังเคราะห์เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรืออาจจะเป็นวัสดุอื่นๆ เช่น เส้นใยไมโครเจล เพราะไรฝุ่น แมลงและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ไม่สามารถอยู่ได้ แถมยังซักและพับเก็บง่ายด้วยมวลน้ำหนักที่เบา ที่สำคัญสามารถซักด้วยเครื่องหรือซักมือได้



2. การซักไส้ผ้าห่ม

การซักไส้ผ้าห่มนั้นต้องทำทุกๆ 2 สัปดาห์ และต้องนำไปตากให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้ ซึ่งการซักทำความสะอาดไส้ผ้าห่มและการตากแดดจะช่วยกำจัดไรฝุ่นและชำระล้างฝุ่นละอองได้ คนที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่ก็จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพ แถมยังให้กลิ่นหอมสดชื่น ช่วยให้นอนหลับสบายและผ่อนคลายอีกด้วย แต่สำหรับคนที่เลือกซื้อผ้าห่มชนิดที่ไม่เก็บไรฝุ่นก็อย่าได้วางใจ เพราะถึงจะไม่เก็บไรฝุ่น แต่ก็อาจมีฝุ่นมาเกาะจนนำมาซึ่งโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน นี่จึงเหตุผลว่าทำไมเราต้องหมั่นซักผ้านวมอยู่เสมอนั่นเอง

3. เปลี่ยนไส้ผ้าห่มทุก 6 เดือน

เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าห่มและไส้ผ้าห่มสะสมฝุ่นมากเกินไปควรเปลี่ยนไส้ผ้าห่มทุกๆ 6 เดือน แต่ในกรณีที่ยังใช้ได้ดีอยู่อาจจะเปลี่ยนปีละครั้งก็ได้ พร้อมกับหมั่นทำความสะอาดควบคู่กันไป แต่ไม่ควรละเลยและปล่อยไว้หลายๆ ปีโดยไม่เปลี่ยนไส้ผ้านวมเลย เพราะไส้ผ้านวมก็อาจมีฝุ่นเล็ดลอดเข้าไปเกาะติดอยู่ ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ 




ทั้งหมดนี้คือวิธีการดูแลไส้ผ้านวมที่ทุกคนสามารถนำไปไปฏิบัติตามได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาความสะอาดไม่ให้มีไรฝุ่นหรือมลพิษสะสมแล้วยังช่วยให้ผ้าห่มและไส้ผ้าห่มอยู่ในสภาพดีและน่าใช้อีกด้วย




โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของถุงน่องที่มีมากกว่าใส่เพื่อแฟชั่น

รีโมทรถยนต์เสีย! ไม่ต้องตกใจ แก้ไขง่ายๆ

รวม 9 แหล่งเช่าพระเครื่องยอดนิยม