พัดลมไอน้ำคืออะไร…ใครรู้บ้าง?



หลายคนบอกว่าเมืองไทยในปัจจุบันมีสามฤดู คือ ฤดูร้อน ร้อนมากและร้อนที่สุด ดังนั้นหนึ่งในไอเท็มที่ขาดไม่ได้คือพัดลมนั่นเอง ซึ่งพัดลมได้ถูกพัฒนาจนมีนวัตกรรมใหม่ๆ มากมาย ทั้ง พัดลมไอเย็น และพัดลมไอน้ำ โดยบางคนอาจยังไม่รู้ว่าพัดลมไอน้ำคืออะไร วันนี้เราจึงนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับพัดลมไอน้ำมาฝาก ไปดูกันว่าพัดลมไอน้ำคืออะไร และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

พัดลมไอน้ำ คืออะไร


พัดลมไอน้ำ คือพัดลมที่มีการพ่นหมอกไอน้ำ (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Mist Fan) ช่วยให้อากาศเย็นสบาย พัดลมไอน้ำนั้นเหมาะสำหับการใช้งานในพื้นที่โล่งแจ้ง กลางแจ้ง หรือในอาคารที่มีอากาศหมุนเวียนตลอดเวลา จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลดอุณหภูมิความร้อนในสายการผลิตสินค้าหรือลดไฟฟ้าสถิต

พัดลมไอน้ำ VS พัดลมไอเย็น แตกต่างกันอย่างไร


ที่ผ่านมาคนยังมีความคิดที่ว่าพัดลมทั้งสองแบบมีการใช้งานเหมือนกันจนคิดว่าเป็นชนิดเดียวกัน แต่จริงๆ แล้วพัดลมทั้งสองแบบเป็นพัดลมคนละชนิดกันและมีความแตกต่างกัน โดยพัดลมไอน้ำจะทำงานด้วยการพ่นละอองน้ำออกมา แล้วใช้พัดลมเป่าให้ละอองน้ำกระจายตัว

ส่วนพัดลมไอเย็น คือพัดลมอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป เนื่องจากระบบการทำงานของพัดลมไอเย็นจะผ่านสิ่งที่เรียกว่า Evaporative Cooling Systems ซึ่งดึงเอาความร้อนที่มีในอากาศเข้าสู่แผ่นความเย็น เมื่อมีการสัมผัสกับส่วนร้อนและเย็นจะทำให้เกิดการระเหยและส่งออกมาเป็นไอเย็นที่ช่วยลดอุณหภูมิได้

ข้อดีและข้อเสียของพัดลมไอน้ำ

ข้อดี

  • ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในอากาศได้ดี แม้จะไม่เย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศก็ตาม
  • ราคาไม่แพงมาก
  • ตอบโจทย์คนที่อยากได้พัดลมลดอุณหภูมิในพื้นที่โล่ง กลางแจ้ง
  • เหมาะกับการใช้งานในห้องที่มีขนาดใหญ่ และเคลื่อนย้ายได้ตามที่ต้องการ

ข้อเสีย

  • ต้องหมั่นเติมน้ำที่ถังน้ำอยู่เสมอ
  • ต้องคอยทำความสะอาดถังน้ำเพื่อไม่ให้สกปรก
  • ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องปิดทึบ ไม่มีอากาศถ่ายเท เพราะจะทำให้เกิดความอับชื้น
  • มีข้อจำกัดในการใช้งานแค่บางพื้นที่เท่านั้น
  • ไม่เหมาะกับการใช้งานในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาวที่มีความชื้นในอากาศสูงอยู่แล้ว
โดยปัจจุบันพัดลมไอน้ำได้รับการออกแบบให้มีขนาดเล็ก พกพาสะดวกและมีสีสันสวยงาม ถ้ากำลังมองหาพัดลมไอน้ำขนาดเล็กสามารถดูได้ที่ Weloveshopping.com

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของถุงน่องที่มีมากกว่าใส่เพื่อแฟชั่น

รีโมทรถยนต์เสีย! ไม่ต้องตกใจ แก้ไขง่ายๆ

รวม 9 แหล่งเช่าพระเครื่องยอดนิยม